TPM

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

บทนำ

เรามักเคยชินกับงานกลุ่มย่อย  QCC ซึ่งเมื่อมีโครงการนำ TPM  มาใช้ในกิจกรรมต่างๆรูปแบบงานกลุ่มย่อยแบบเดิมจึงแปรเปลี่ยนไปเป็นแบบ  TPM  ซึ่งเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการทำ TPM  ถือว่า   เป็นงานประจำวันปกติธรรมดา TPM ย่อมาจากคำว่า Total Productive Maintenance คือ การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วมหลักการของ TPM นั้นเริ่มต้นการพัฒนามาจาก การดำเนินการ PM หรือการทำ Preventive Maintenance และได้พัฒนาการดำเนินการมาเรื่อยๆโดยความคิดพื้นฐาน เริ่มจากการทำการบำรุงรักษาเครื่องจักรเพื่อไม่ให้เสียสามารถเดินเครื่องตามที่ต้องการได้โดยการใช้ทั้งการบำรุงรักษาตามคาบเวลา  การบำรุงรักษาตามสภาพของเครื่องจักร  และการเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรที่บำรุงรักษาง่ายขึ้น มีอายุการใช้งานนานขึ้น   แต่เครื่องจักรก็ยังเสียอยู่และมีค่าใช้จ่าย ในการบำรุงรักษาสูงมาก ซึ่ง  TPM หรือการบำรุงรักษาเชิงทวีผลโดยรวม หมายถึง ระบบการบำรุงรักษาที่ครอบคลุมตลอดช่วงอายุอุปกรณ์  นับตั้งแต่การวางแผนการผลิตการบำรุงรักษา และอื่นๆโดยอาศัยความร่วมมือจากพนักงานทุกคน ตั้งแต่ฝ่ายบริหารระดับสูงจนถึงพนักงานหน้างาน  การส่งเสริมการบำรุงรักษาเชิงทวีผลโดยผ่านการจัดการแบบสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนถึงการดำเนินกิจกรรมกลุ่มย่อยที่จะทำให้ประสิทธิภาพของอุปกรณ์มีค่าสูงสุด
ดังนั้น จึงต้องมีผู้ที่มีความสามารถในการตรวจสอบเครื่องจักร ต้องเป็นผู้ที่สามารถรับรู้ การเสื่อมสภาพได้อย่างแม่นยำ ผู้ที่จะทำเช่นนี้ได้อย่างดีที่สุดก็คือ พนักงานเดินเครื่อง ต่อมาจึงได้พัฒนามาเป็น การบำรุงรักษาด้วยตนเอง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ  TPM การดำเนินการ การบำรุงรักษาด้วยตนเอง จึงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ   TPM   แต่การดำเนินการเพียงเพื่อให้เครื่องจักรเสียเป็นศูนย์  นั้นยังไม่เพียงพอ TPM จึงมุ่งไปสู่การเป็นผู้ผลิตระดับโลก หรือ World Class Manufacturing โดยนำกิจกรรมอื่นมาผนวกรวมด้วยเป็น 8 กิจกรรมหลักของการดำเนินการ TPM หรือที่เรียกว่า 8 เสาหลักของ TPM

2 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก