การวิเคราะห์ และวิจารณ์
การบำรุงรักษาด้วยตนเอง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ TPM การดำเนินการ การบำรุงรักษาด้วยตนเอง จึงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ TPM แต่การดำเนินการเพียงเพื่อให้เครื่องจักรเสียเป็นศูนย์ นั้นยังไม่เพียงพอ TPM จึงมุ่งไปสู่การเป็นผู้ผลิตระดับโลก หรือ World Class Manufacturing โดยนำกิจกรรมอื่นมาผนวกรวมด้วยเป็น 8 กิจกรรมหลักของการดำเนินการ TPM หรือที่เรียกว่า 8 เสาหลักของ TPM การเริ่มต้นกิจกรรม TPM ควรจะมีการกำหนดแผนกิจกรรมหลัก (Master Plan) ขึ้นมา เพราะ TPM ประกอบด้วยกิจกรรมหลายส่วน ต้องเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย และใช้เวลาในการดำเนินกิจกรรมค่อนข้างนาน คือ 6 เดือน ถึง 1 ปีเน้นการพึ่งตนเองได้ของคนหน้างาน จุดนี้ เป็นการให้คุณค่าของคนหน้างาน อันจะทำให้คนทำงาน มีความภาคภูมิใจ ในการเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาองค์กร ความสำเร็จของการนำระบบนี้มาใช้ และก่อให้เกิดผลดีอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนได้นั้น ขึ้นกับความร่วมแรงร่วมใจของทุกฝ่าย ทุกระดับ ร่วมกันป้องกันความสูญเสียทุกประเภท ความร่วมแรงร่วมใจของทุกฝ่าย ทุกระดับในองค์กร ไม่เพียงแต่มีความสำคัญต่อระบบ TPM เท่านั้น แต่เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินการต่างๆ ไม่ว่าจะใช้เครื่องมือบริหารรูปแบบใดก็ตาม
หากเราต้องการเข้าใจ TPM ให้ดีขึ้น ขอให้เราหลับตาพิจารณาผังก้างปลา ที่เราใช้วิเคราะห์ปัญหา เราก็จะพบว่าปัญหาทุกอย่างมักจะมีสาเหตุจากคน เครื่องจักร วิธีการปฏิบัติ และสภาพแวดล้อมที่ส่งผล TQM มักจะไปเน้นวิธีการที่มุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมาย แต่ TPM ก็จะขอเน้นการทำให้เครื่องจักรดี แล้วจะทำให้เป้าหมายบรรลุได้ดีขึ้น โดยเฉพาะโรงงานที่มีการใช้เครื่องจักรมาก ๆ และเครื่องจักรนั้นมีผลต่อคุณภาพสินค้า บริการ และต้นทุนเป็นอย่างมาก ยิ่งเครื่องจักรนั้นมีอิทธิพลมาก TPM ก็ยิ่งมีความสำคัญมาก เมื่อเราคิดต่อไปว่า หากต่อไปปัญหาธุรกิจนั้นไม่ได้เกิดมาจากเครื่องจักร ไม่ได้มีสาเหตุจากวิธีการ แต่สาเหตุหลัก ๆ มาจากการจัดการเรื่องคนเป็นพาเรโตตัวใหญ่ ก็อาจจะเกิดระบบบริหาร THM (Total Human Resource Management) หรืออาจเกิดวิชาระบบบริหาร TWM (Total Working Condition Management) ก็ได้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก